สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 1
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนวัดศรีรัตนาราม (รัตนราษฎร์สงเคราะห์) แต่เดิมมีชื่อว่า โรงเรียนวัดจูงนาง โดยอาศัยศาลาการเปรียญวัดจูงนางเป็นที่เรียนของนักเรียนชั้นต่าง ๆเปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 โดยมี นายเนียม ขาวละออง เป็นครูใหญ่คนแรก เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีครูทำการสอน 3 คน มีนักเรียน 259 คน
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ได้เปลี่ยนครูใหญ่คนใหม่ชื่อนายทองคำ ดีสมบูรณ์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาใหม่ โดยทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนจำนวน 392 คน
ปี พ.ศ. 2479 ได้เปลี่ยนครูใหญ่คนใหม่ชื่อนายไกร สิทธิศักดิ์ ได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง กว้าง 3 วา ยาว 7 วา หลังคาเป็นหญ้าคา พื้นกระดานเสาไม้จริง ไม่มีฝากั้น
ต่อมาทางราชการให้เงิน 1,000 บาท ให้โรงเรียนดำเนินการสร้างอาคารเรียนแบบ 2 ชั้น ในที่ดินของประชาชน เนื้อที่ประมาณ 72 ไร่ ทางทิศตะวันออกของโรงเรียนปัจจุบัน ใช้เสาคอนกรีต มีห้องเรียน 7 ห้องเรียน
วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 ได้เปลี่ยนครูใหญ่คนใหม่ชื่อนายบุญเหลือ ชอบธรรม ในปีการศึกษานี้ระบบการศึกษาได้เปลี่ยนใหม่ โดยเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นเตรียมประถมศึกษาถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และทางราชการให้เปิดโรงเรียนใกล้เคียงขึ้นอีก 1 โรงเรียน เพื่อนักเรียนไม่ต้องเดินทางไกล ชื่อโรงเรียนวัดคุ้งวารี จำนวนนักเรียนจึงคงเหลือ 360 คน มีครูทำการสอน 8 คน
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ได้เปลี่ยนครูใหญ่คนใหม่ชื่อนายพิทักษ์ โมราถบ มีจำนวนนักเรียน 360 คน มีครูทำการสอน 9 คน
วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ได้เปลี่ยนครูใหญ่คนใหม่ชื่อนายเนียม ขาวละออง มีจำนวนนักเรียน 325 คน ครูทำการสอน 9 คน ในสมัยนั้นเป็นเหตุการณ์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่มีการปรับปรุงโรงเรียนแต่อย่างใด วัสดุครุภัณฑ์ต่างๆของโรงเรียนชำรุด อาคารเรียนต่างๆชำรุดมาก มีการรื้อถอนอาคารเรียนและอาคารประกอบ ประชาชนเอาที่ดินที่ได้มอบให้โรงเรียนกลับคืน เพราะโรงเรียนไม่ได้ออกกรรมสิทธิ์ในที่ดินไว้ ประชาชนจึงเอาที่ดินของตนคืน ตามกรรมสิทธิ์ของตน
วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ได้เปลี่ยนครูใหญ่ใหม่ชื่อนายหาญ สุขใจ ระบบการศึกษาเปลี่ยนเป็นให้เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวนนักเรียนมี 362 คน มีครู 8 คนในสมัยนี้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงห้องเรียนเดิมที่ชำรุดให้ดีขึ้น ซึ่งแต่เดิมมีโต๊ะเรียนแบบ ป.3 จำนวน 5 ชุด ประชาชนได้ช่วยกันบริจาคเงินและแรงงานสร้างให้อีก 80 ชุด
วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2503 ได้เปลี่ยนครูใหญ่ใหม่ชื่อนายมานพ สุดใจ ระบบการศึกษา คงเดิม มีนักเรียน 368 คน ครู 7 คน ได้มีการปรับปรุงด้านเทคนิคการสอนแผนใหม่ โดยมีนักศึกษาของวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ออกมาตั้งหน่วยฝึกสอน เป็นการฝึกสอนชนบท ทางวิทยาลัยได้มาช่วยปรับปรุงด้านการเรียนการสอน ด้านอาคารเรียน ชาวบ้านและผู้ปกครองนักเรียน ได้ร่วมกันจัดสร้างบ้านพักนักศึกษาฝึกสอนให้ 1 หลัง เป็นเรือนทรงมะลิลา กว้าง 6 เมตร ยาว 8 เมตร โดยใช้เงินจำนวน 60,000 บาท
ทางโรงเรียนได้วางแผนก่อสร้างอาคารเรียนเป็นระยะยาว โดยกำหนดการก่อสร้างนาน 3 ปี ได้เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2505 ถึง ปีพ.ศ. 2508 นำโดยครูใหญ่ และได้รับการสนับสนุนจากเจ้าอาวาสวัด จูงนางในขณะนั้น (พระครูธรรมธรไซ่ ธมฺมกาโม) ร่วมกับกรรมการศึกษาของโรงเรียนและประชาชนในหมู่บ้าน ช่วยกันหาเงินได้เป็นจำนวน 200,000 บาท ประกอบกับทางราชการได้อนุมัติงบประมาณให้มาเป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท ในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 002 กรมสามัญ อาคารเรียนกว้าง 9 เมตร ยาว 72 เมตร 9 ห้องเรียน สร้างแล้วเสร็จวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2509
วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2509 เปลี่ยนครูใหญ่ใหม่ชื่อนายใหญ่ อิ่มอ่อง ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่จากโรงเรียนวัดจูงนาง เป็นโรงเรียนวัดศรีรัตนาราม (รัตนราษฎร์สงเคราะห์ ) เปลี่ยนชื่อตามวัด
ในปีการศึกษา 2511 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนโดยได้รับอนุญาตเปิดการเรียน การสอนชั้นเด็กเล็ก ตามหนังสืออำเภอเมืองพิษณุโลกที่ พล. 51/189 ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2511 และเปิดทำการสอนถึง ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป. 7)
ปีการศึกษา 2516 ได้รับงบประมาณ 120,000 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ.จำนวน 3 ห้องเรียน กว้าง 10 เมตร ยาว 28 เมตร
วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ได้เปลี่ยนครูใหญ่ใหม่ชื่อนายทองดี นาคบุรี ในสมัยนี้ไม่มีการก่อสร้างใดๆ ได้แต่บำรุงปรับปรุงรักษา
วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2519 ได้เปลี่ยนครูใหญ่ใหม่ชื่อนายมนัส เรืองเดช ในปีการศึกษา 2520 ได้ก่อสร้างอาคารต่างๆ ดังนี้
1. โรงอาหาร 1 หลัง กว้าง 9 เมตร ยาว 20 เมตร โดยได้รับบริจาคจากประชาชน และช่วยกันก่อสร้าง เป็นเงินจำนวน 60,000 บาท
2. ห้องสมุด 1 หลัง กว้าง 6 เมตร ยาว 6 เมตร ใช้เงินของคณะลูกเสือชาวบ้านรุ่นที่ 15 ของอำเภอเมืองพิษณุโลก 90,000 บาท แต่ในปัจจุบันอาคารนี้ชำรุดมาก และได้ทำการรื้อถอนไปแล้ว
3. ส้วมนักเรียน 1 หลัง 2 ที่นั่ง หลังอาคารเรียนป. 1 ฉ.
วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2521 ได้เปลี่ยนครูใหญ่คนใหม่ชื่อนายเจตน์ บุญโสภา
ในปีการศึกษา 2521 ได้มีการก่อสร้าง ดังนี้
1. อาคารเรียนแบบ อพล. 004 1 หลัง 3 ห้องเรียนใต้ถุนสูงงบประมาณ 310,000 บาท กว้าง 10 เมตร ยาว 28 เมตร
2. ส้วม 1 หลัง 2 ที่นั่ง งบประมาณ 8,000บาท
ในปีการศึกษา 2522 ได้มีการก่อสร้าง ดังนี้
1. โรงฝึกงานแบบกรมสามัญ 1 หลัง กว้าง 9 เมตร ยาว 20 เมตร งบประมาณ 90,000 บาท ได้ก่อสร้างต่อจากโรงอาหาร
2. สร้างรั้วหน้าโรงเรียนใช้กรงเหล็ก และอีก 3 ด้านใช้เสาคอนกรีตใส่ลวดหนาม ด้วยเงินของประชาชนร่วมกับคณะครู เป็นเงิน 120,000 บาท
ในปีการศึกษา 2524 สร้างเสาธงเหล็กด้วยเงินบริจาคจากประชาชน และผู้ปกครอง เป็นเงิน 12,000 บาท
ในปีการศึกษา 2525 ได้มีการก่อสร้าง ดังนี้
1. อาคารเรียนแบบ อพล. 004 ใต้ถุนสูง 1 หลัง 3 ห้องเรียน 1 ห้องพักครู กว้าง 10 เมตร ยาว 33 เมตร ด้วยเงินงบประมาณ 688,300 บาท
2. สนามบาสเกตบอล ประชาชนร่วมกันบริจาคทรัพย์เป็นเงิน 45,000 บาท และสละแรงงานช่วยกันทำ
พ.ศ. 2527 ก่อสร้างศาลารัตนโกสินทร์ เพื่อร่วมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 200 ปี
จำนวนเงิน 22,000 บาท โดยคณะครูและประชาชน
พ.ศ. 2528 สร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก เส้นผ่าศูนย์ 2 เมตร สูง 3.50 เมตร 2 ถังคู่ จำนวนเงิน 18,000 บาท โดยคณะครูและประชาชน
พ.ศ. 2530 สร้างหอสูงส่งน้ำ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 12 เมตร และมีถังคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร สูง 3 เมตร เป็นเงิน 35,000 บาท
พ.ศ. 2533 สร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร สูง 3.50 เมตร คู่กับ 2 ถังแรก ใช้เงิน 18,000 บาท
พ.ศ. 2533 สร้างร้านค้าสหกรณ์โรงเรียนกว้าง 6 เมตร ยาว 11 เมตร เป็นเงิน 31,700 บาท โดยคณะครูและประชาชนบริจาค
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ได้เปลี่ยนอาจารย์ใหญ่คนใหม่ชื่อนายณรงค์ สวนนุ่ม
เดือนเมษายน พ.ศ. 2540 ได้เปลี่ยนหลังคาโรงเรียนแบบ 002 กรมสามัญ จากสังกะสี เป็นกระเบื้องตราช้างลอนคู่ หนา 5 มิลลิเมตร โดยได้รับงบประมาณมาปรับปรุงโรงเรียน 78,200 บาท คณะครูและประชาชนร่วมบริจาคอีก 91,080 บาท
พ.ศ. 2540 เปลี่ยนตัวหนังสือป้ายชื่อของโรงเรียนใหม่ ซึ่งของเก่าชำรุดใช้ไม่ได้ คณะครูและประชาชนร่วมบริจาคเป็นเงิน 14,995 บาท
เดือนกันยายน 2544 ได้รับงบประมาณ 29,100 บาท เพื่อเปลี่ยนหลังคาโรงฝึกงานแบบกรมสามัญ คณะกรรมการโรงเรียนและประชาชนนำโดยนายเกษม โตสุข ได้มาช่วยกันเปลี่ยนหลังคาพร้อมกับเปลี่ยนหลังคาโรงอาหารที่ผุ ก่ออิฐถือปูนโรงครัวใหม่ เพราะของเก่าเป็นไม้ผุพัง ใช้เงินจากคณะกรมการโรงเรียนเพิ่มอีกหมื่นเศษ
ปีการศึกษา 2544 นายณรงค์ สวนนุ่ม อาจารย์ใหญ่ได้รับการปรับปรุงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน (เกณฑ์คุณภาพ)
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 นายณรงค์ สวนนุ่ม ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษียณอายุราชการ ข้าราชการครูเกษียณก่อนกำหนด 3 รายคือ นางปราณี คีรีวัลย์ นางลำดวน ขันทจันทร์ น.ส.สายหยุด อินทรบาง ย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่ตามโครงการเกลี่ยอัตรากำลังครู 2 รายคือนางจิราภรณ์ เผือกพ่วง ย้ายไปโรงเรียนอนุบาลพิษณุโลก นางจิตรา อัจฉฤกษ์ ซึ่งช่วยราชการที่ สปอ.เมืองพิษณุโลก ย้ายไปโรงเรียนอนุบาลพิษณุโลก
อนึ่ง เมื่อต้นปีการศึกษา 2544 สปจ.พิษณุโลก ได้พิจารณาแต่งตั้งย้ายนายหยี่ ทองรุ่งตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนห้วยดั้ง สปอ.พรหมพิรามช่วยราชการ สปอ.พิษณุโลก มาดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดศรีรัตนารามฯ
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 สปจ.พิษณุโลกได้พิจารณาแต่งตั้งย้ายนายกมล มนตรีวิวัฒน์ ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดท่านา สปอ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทนนายณรงค์ สวนนุ่ม ผู้อำนวยการโรงเรียนซึ่งเกษียณอายุราชการ และวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 นายกมล มนตรีวิวัฒน์ ได้เดินทางมารับตำแหน่ง
วันที่ 24 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 คณะครูและประชาชนได้ทำการรื้ออาคารเรียนอนุบาลชนบท ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก นำวัสดุที่เหลือมาจัดทำโรงจอดรถนักเรียน และตั้งชื่อว่า “ โรงรถประชาร่วมใจ ”
วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 ข้าราชการครูได้สมัครเข้าโครงการเกษียณก่อนกำหนดจำนวน 3 ราย คือ 1. นางเจียมจิต วิยะรัตน์ 2.นางผาณิต โตสุข 3.นางเอื้ออารีย์ บุญโสภา ทำให้ในปีการศึกษา 2547 มีข้าราชการครูจำนวน 11 คน
วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 1 ได้ส่งนายนเรศ ขวัญผ่อง อาจารย์ 2 โรงเรียนบ้านหนองหัวยาง มาช่วยราชการที่โรงเรียนเพื่อรอคำสั่งแต่งตั้งย้ายต่อไป
ปีการศึกษา 2551 น.ส.รำพึง ครุฑอ่อง ข้าราชการครู โรงเรียนบ้านคลองเตย อ.บางระกำ ได้มาช่วยราชการที่ โรงเรียนนี้ ด้วยสาเหตุเจ็บป่วย
วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2552 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1ได้มีคำสั่งแต่งตั้งย้ายนายกมล มนตรีวิวัฒน์ ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกร่าง(พระขาวชัยสิทธิ์)
วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2552 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 1 ได้แต่งตั้งให้
นายรังสฤษฎ์ อ้วนวิจิตร มาดำรงตำแหน่งแทน
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ข้าราชการครูได้สมัครเข้าโครงการเกษียณก่อนกำหนดจำนวน
3 ราย คือ 1. นายบุญลือ ศรีแสงฉาย 2. นางสวาท เพชรนา 3. นางปราณี ยิ้มสบาย ทำให้ในปีการศึกษา 2554 มีข้าราชการครูจำนวน 8 คน
วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1
ได้มีคำสั่งแต่งตั้งย้ายนายรังสฤษฎ์ อ้วนวิจิตร ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชน 1 วัดสะกัดน้ำมัน
วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1
ได้แต่งตั้งให้ นางสุภาวดี วงศ์ดิษฐ์สกุล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดศรีรัตนาราม(รัตนราษฎร์สงเคราะห์)
วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1ได้แต่งตั้ง นางนันทนา บุญคง ตำแหน่งครูโรงเรียนวัดบ้านดง และ นางสาวสุภาภรณ์ คำปาแฝง ตำแหน่งครูโรงเรียน วัดบึงพระ ให้มาดำรงตำแหน่งโรงเรียนวัดศรีรัตนาราม(รัตนราษฎร์สงเคราะห์)
วิสัยทัศน์โรงเรียน
โรงเรียนวัดศรีรัตนารามฯ เป็นแหล่งเรียนรู้มุ่งพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้ได้มาตรฐานการศึกษาระดับชาติ ก้าวทันเทคโนโลยี พัฒนานักเรียนทุกคนให้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขบนพื้นฐานประชาธิปไตยและวัฒนธรรมไทย มุ่งสู่มาตรฐาน
พันธกิจ
1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม บนพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและพัฒนาเต็มศักยภาพ
3. ส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนมีสุขนิสัยด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
4. จัดกิจกรรมส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมไทย
5. จัดสภาพแวดล้อมให้สะอาด ร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัยและเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เอื้อ